เมื่อ X-Ray หรือ อัลตร้าซาวด์ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการวินิจฉัยสัตว์ป่วย

CT Scan หรือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรคหรืออาการป่วยของสัตว์ป่วย

เนื่องในปัจจุบันในสัตว์เลี้ยง อาทิ สุนัข และแมว ได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยของคน เช่น การตรวจ CT (Computerized Tomography) หรือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์มากขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น 

วิดีทัศน์ "CT SCAN นวัตกรรมสแกนโรคสัตว์"

ผศ.ดร.น.สพ.เฉลิมพล เล็กเจริญสุข ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและวิจัย

ปัญหาของการตรวจรักษาสัตว์เลี้ยงที่มักพบได้บ่อยๆ

  • X-Ray หรือ อัลตร้าซาวด์  ยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้

  • ไม่รู้ว่าสัตว์ที่ป่วยมะเร็งนั้นอยู่ในระยะใด  แพร่กระจายไปทั่วร่างหรือยัง

  • โรคลมชักในสุนัข ส่วนหนึ่งมาจากเนื้องอกในสมอง แต่ตรวจไม่ได้

  • ไม่รู้ว่า “จะไปต่อหรือพอแค่นี้”

ที่มา : https://www.petcharavejhospital.com/en/Medical_service/med_tech_detail/CT_SCAN

ลองเช็คดูว่าสัตว์เลี้ยงของท่าน
มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้หรือไม่

1. โรคเนื้องอก

2. โรคระบบสมอง

3. โรคระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง

4. ระบบช่องท้องและทรวงอก

5. โรคระบบหลอดเลือด

6. โรคนิ่วและโรคไต

เพราะปัญหาสุขภาพเหล่านี้
อาจจำเป็นต้องทำ CT SCAN

CT SCAN

นวัตกรรมสแกนโรคสัตว์

เทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยโรค และความผิดปกติของร่างกายสัตว์ ด้วยการฉายรังสีเอกซเรย์ไปยังบริเวณที่ต้องการตรวจบนร่างกาย เพื่อดูอวัยวะภายในและทำการวินิจฉัยโรคหรือใช้ในการติดตามโรคที่เป็นอยู่ต่อไป เครื่อง CT Scan จะให้รายละเอียดของภาพมากกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดาทั่วไป โดยทางโรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ (SLV) ได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 16 สไลด์ หรือ CT 16 Slices เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง สามารถสแกนได้เร็วถึง 16 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 0.75 วินาที

ประโยชน์ของ CT Scan ในสัตว์

  • ใช้ตรวจค้นหาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ
  • ช่วยในการวินิจฉัย
  • ช่วยในการวางแผนการรักษา
  • ใช้ติดตามผลในการรักษาของสัตวแพทย์

โรคและอาการที่ CT SCAN สามารถบอกได้

เครื่องสามารถช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัย  เนื้องอก มะเร็ง กระดูกแตกร้าว เป็นต้น

เครื่องสามารถช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยขนาดก้อนในปอด ภาวะติดเชื้อหรืออักเสบของเนื้อเยื่อ เส้นเลือดแดงใหญ่ เนื้องอกหัวใจ เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ปริมาณน้ำในช่องอก เป็นต้น

เครื่อง CT SCAN สามารถช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรคตับ ดูความผิดปกติของลำไส้ตีบตัน หรือมีสิ่งแปลกปลอม  ถุงน้ำดี ตับอ่อนอักเสบ โครงสร้างของไต นิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ก้อนในมดลูก การอักเสบติดเชื้อในช่องท้อง เป็นต้น

เครื่อง CT SCAN สามารถช่วยสัตวแพทย์ในการวินิจฉัยโรคกระดูกได้หลากหลาย ทั้งร้าว แตก กดทับ ผิดรูป รวมถึงมะเร็งกระดูกได้ เป็นต้น

CT สามารถตรวจความผิดปกติของโรคระบบประสาท และสมองได้ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมไทรอยด์และคอ เป็นต้น

การตรวจ CT Scan ไม่ได้ใช้ในการตรวจโรคข้อเสื่อมปกติ แต่จะใช้เมื่อสัตวแพทย์สงสัยภาวะความผิดปกติอื่นๆ เช่น สงสัยว่ามีเส้นเอ็นหรือหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ สงสัยโรคเนื้องอกในข้อ เป็นต้น

เนื่องจากหูชั้นกลางและหูชั้นในมีลักษณะทางกายวิภาคที่ลึกลับซับซ้อน  CT Scan จะช่วยตรวจหาความผิดปกติของหูทั้ง 2 ส่วนได้ดีกว่าใช้กล้องตรวจหูอย่างเดียว

การส่งทำ CT scan บริเวณจมูกและไซนัส มีประโยชน์ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคไซนัสอักเสบ เนื้องอกในโพรงจมูก ช่วยหาสาเหตุของภาวะมีน้ำมูกเรื้อรัง ช่วยวางแผนในการรักษา

เทคโนโลยี CT Scan ช่วยให้สัตวแพทย์ประเมิน และวางแผนรักษากระดูกขากรรไกรของสัตว์ป่วยว่ารากฟันอักเสบเพียงใด และตรวจสอบเนื้องอกในช่องปากได้ชัดเจน ทำให้วางแผนการรักษาได้ดีขี้น

คุณภาพเคียงคู่การวินิจฉัย

 ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ (SLV ANIMAL CT SCAN CENTER) เป็นหนึ่งในหน่วยงานของโรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ (SLV) ซึ่งได้รับมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ TAHSA และ ISO 9001:2015 ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์  เพราะเรายึดมั่นว่า “ที่ SLV แมวหมาต้องมาก่อน เรื่องอื่นไว้ทีหลัง” (Pet First)

ทีมสัตวแพทย์ศูนย์ CT SCAN สัตว์เลี้ยง

น.สพ.ธนัตถ์ ธัชชนะชัย
หัวหน้าศูนย์ CT SCAN สัตว์เลี้ยง

สพ.ญ.ทินรัตน์ เผงพิมาย

สพ.ญ.กนกวรรณ คิ้วสุวรรณ

สพ.ญ.กัญญาวีร์ จิตต์วัฒนาอารีย์

สพ.ญ.ภัทรวดี สิงห์สุทธิโสทร

อ.น.สพ.ธนพล สันติวัฒนธรรม

สพ.ญ.สุวีรยา นาจำเริญ

6 ขั้นตอนในการทำ CT Scan สัตว์เลี้ยง

1. การเตรียมตัวสัตว์

  • งดน้ำ งดอาหาร ก่อนทำ CT 6-12 ชั่วโมง

  • เจ้าของสัตว์ควรแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบถึงประวัติการป่วยและการแพ้ต่างๆ ของสัตว์

2. การตรวจร่างกายและตรวจเลือด

  • เราจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกายและตรวจเลือดอย่างละเอียดเพื่อประเมินว่าวางยาสลบได้หรือไม่ และเพื่อให้มั่นใจว่าการดมยาสลบสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

3. การวางยาสลบ

  • สัตว์จะได้รับการวางยาสลบด้วยการดมยาสลบภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์เหมือนกับการวางยาสลบเพื่อการผ่าตัด เพื่อให้สัตว์อยู่นิ่ง ซึ่งจะทำให้ได้ภาพรังสีวินิจฉัยที่ชัดเจน ง่ายต่อการอ่านผล

4. การให้สารทึบรังสี

  • ในสัตว์ป่วยบางราย สัตวแพทย์อาจให้สารทึบรังสี (Contrast Material) เข้าไปในร่างกายเพื่อช่วยให้ภาพถ่ายในบริเวณต่าง ๆ ที่ต้องการตรวจเห็นได้ชัดเจนขึ้น

5. การทำ CT Scan

  • เมื่อเริ่มทำ CT Scan สัตว์ป่วยจะถูกจัดท่าบนเตียงของเครื่องสแกน เตียงจะถูกเคลื่อนเข้าไปภายในเครื่อง ให้บริเวณที่ต้องการจะสแกนอยู่ตรงกับวงแหวนสแกน และเครื่องจะเริ่มทำการสแกนด้วยการหมุนเพื่อฉายรังสีเอกซเรย์ไปรอบ ๆ ตัวสัตว์ป่วย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะฉายภาพที่ได้ออกมาเรื่อย ๆ และการสแกนจะสิ้นสุดลงภายในเวลาประมาณ 10-20 นาที

6. ผลตรวจ CT Scan

  • หลังทำ CT Scan เสร็จ เครื่องคอมพิวเตอร์จะประมวลภาพออกมา รังสีสัตวแพทย์จะอ่านผลที่ได้และรายงานต่อสัตวแพทย์ผู้ดูแล ซึ่งสัตวแพทย์จะสรุปผลการตรวจและพูดคุยกับเจ้าของสัตว์ป่วยต่อไป ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 1-7 วันในการทราบผล
  • แต่หากเป็นภาวะวิกฤตอย่างเร่งด่วน  รังสีสัตวแพทย์จะแจ้งผลให้สัตวแพทย์เจ้าของไข้ทราบในทันที

FAQ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ CT Scan ในสัตว์เลี้ยง

การตรวจ CT Scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายสัตว์ป่วยด้วยรังสีเอกซ์โดยการฉายรังสีเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างภาพ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งภาพในระนาบต่างๆ หรือจะ แสดงเป็นภาพ 3 มิติ CT เป็นวิธีการสร้างภาพวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วในทางสัตวแพทย์

CT ย่อมาจาก Computed Tomography เทคนิคการถ่ายภาพนี้ใช้หลอดเอ็กซ์เรย์ที่หมุนเป็นวงกลมขนาดใหญ่รอบตัวสัตว์ป่วย ลำแสงเอ็กซเรย์ เคลื่อนผ่านร่างกายและตรวจพบโดยเครื่องตรวจจับจำนวนมากที่อยู่รอบ ๆ วงแหวนเดียวกัน คอมพิวเตอร์จะรวบรวมข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดเกี่ยวกับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อที่ลำแสงเอ็กซเรย์เดินทางผ่าน จากนั้นจะสร้างภาพตัดขวางของระนาบใดๆ ที่ผ่านร่างกาย ในแง่หนึ่ง เปรียบเสมือนการแบ่งส่วนของร่างกายออกเป็นชิ้นบางๆ เหมือนขนมปัง ซึ่งจะให้ภาพที่ละเอียดสูงกว่าภาพถ่ายรังสีทั่วไป

  1. เสี่ยงต่อการวางยาสลบ

  2. ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารทึบรังสี มีโอกาสที่สัตว์ป่วยที่ต้องใช้สารทึบรังสีอาจจะมีอาการแพ้หลังจากได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น ผื่นคัน หายใจติดขัด อาการในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น  แต่พบในสัตว์ได้น้อยมาก

  1. ต้องอดอาหารและน้ำก่อนทำ CT Scan เป็นเวลา 6-12 ชั่วโมง

  2. เราจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกายและตรวจเลือดอย่างละเอียดเพื่อประเมินว่า สัตว์ป่วยวางยาสลบได้หรือไม่ และเพื่อให้มั่นใจว่าการดมยาสลบสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

การสแกน CT ช่วยให้เราได้ภาพตัดขวางจำนวนมาก  และใช้เวลาตั้งแต่ 10-20 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์ และการสแกนจะดำเนินการกับสัตว์ภายใต้การดมยาสลบ

จำเป็นต้องมีการวางยาสลบสัตว์ป่วย เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์อยู่นิ่งตลอดระยะเวลาการตรวจ เพื่อให้ได้ภาพคุณภาพสูงสำหรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

สัตว์ส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงจากยาสลบเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย แต่ในสัตว์ที่ป่วยหนักหรือสัตว์ไม่ปกติ และอาจมีปฏิกิริยารุนแรงต่อยาสลบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในบางครั้ง นอกจากนี้ อาจมีอาการแพ้หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ต่อยาสลบในสัตว์บางชนิด อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้พบได้น้อยมาก

CT มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยความผิดปกติของหัว กระดูกสันหลัง ข้อต่อ เนื้อเยื่ออ่อน และกระดูก นอกจากนั้น ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับจมูกและไซนัส ความผิดปกติของหูชั้นกลางและชั้นใน การตรวจพบเนื้องอกและตำแหน่งสำหรับการวางแผนการผ่าตัด การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกและกะโหลกศีรษะ โรคกระดูกสันหลัง การประเมินการแพร่กระจายของทรวงอก และการประเมินปัญหาความเสื่อมในข้อต่อบางข้อ

ในการตรวจ CT Scan เกือบทุกส่วนมักจะมีการฉีดสารทึบรังสี เพื่อความคมชัดของภาพและทำให้สามารถมองเห็นร่องรอยของโรคได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น การฉีดสารทึบรังสีหรือไม่ฉีดนั้นล้วนขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสัตวแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจ แต่พบว่าการฉีดสารทึบรังสีในสัตว์นั้นค่อนข้างปลอดภัย แม้ว่าอาการแพ้อย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

“สแกนเมื่อจำเป็น”
สัตว์ป่วยควรทำ CT Scan เมื่อมีเหตุจำเป็นอันสมควรเมื่อสัตว์ป่วย
มีอาการป่วยที่ปรากฏเท่านั้น โดยจะไม่ใช้ CT Scan เพื่อการคัดกรองเบื้องต้น หรือ Check up เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพสัตว์

CT Scan สำหรับสัตว์เลี้ยงราคาเท่าไหร่?

ปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายของการทำ CT สำหรับสัตว์เลี้ยงขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการสแกน +/- มีการฉีดสารทึบรังสีด้วยหรือไม่

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ 1. การให้คำปรึกษา + 2. การตรวจร่างกาย + 3. การตรวจเลือด + 4. การดมยาสลบ + 5. การทำ CT SCAN + 6. การอ่านผล CT รวมถึงการดูแลหลังดมยาสลบจนสัตว์ฟิ้นดี

โดยทั่วไปแล้ว การทำ CT Scan สุนัขและแมวที่ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สัตว์เลี้ยง SLV ราคา 6,450 บาท (ไม่รวมค่าฉีดสี และ VAT 7%)

ติดต่อเรา

ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ (SLV ANIMAL CT SCAN CENTER) 24/1 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

เพียง 500 เมตรจากสี่แยกศิริราชและซอยวังหลัง
ถ.อรุณอมรินทร์ ติดกรมอู่ทหารเรือ

Google Maps เพื่อการเดินทาง

ติดต่อเรา

สนใจนำสัตว์เลี้ยงเข้ารับบริการ CT SCAN กับเรา

เปิดบริการทุกวัน 9.00 – 18.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ศูนย์ CT Scan สัตว์เลี้ยง

แผนที่การเดินทาง

SLV และที่จอดรถ

บรรยากาศภายใน

บริการภาพวินิจฉัยอื่นๆ

เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล
(Digital X-ray)

เครื่องอัลตราซาวน์
(Ultrasound )

เครื่องเอคโค่หัวใจ
(Echocardiography)

รศ.น.ส.พ.ปานเทพ รัตนากร อดีตคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ตัดริบบิ้นเปิดศูนย์ CT-Scan

บริการภาพวินิจฉัยอื่นๆ

  • เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล (Digital X-ray)
  • เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasound )
  • เครื่องเอคโค่หัวใจ (Echocardiography)

โดย น.สพ.ธนัตถ์ ธัชชนะชัย
หัวหน้าศูนย์ CT SCAN สัตว์เลี้ยง SLV

สำหรับสัตวแพทย์ / ธุรกิจ

สนใจส่งมาตรวจที่เรา

บทความสำหรับสัตวแพทย์

หากสถานพยาบาลสัตว์ที่ใดมีขีดจํากัดด้านศักยภาพด้านอุปกรณ์การทำ CT SCAN สัตว์ป่วย และคุณหมอตัดสินใจจะส่งต่อสัตว์ป่วยมาทำ CT SCAN เพื่อใช้เครื่องมือขั้นสูงในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง CT Scan หรือต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการอ่านผล หรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและหาแนวทางในการรักษาเคสสัตว์ป่วยของร้านท่าน 

ขั้นตอนการส่งต่อสัตว์ป่วยระหว่างโรงพยาบาลสัตว์กับ ศูนย์ CT Scan สัตว์เลี้ยง SLV

CT Scans in Pets: 

    Everything You Need to Know

By John Gilpatrick

………………………………………………………………..

Scroll to Top